ทำความเข้าใจถึงกลยุทธ์สำหรับการเทรดฟอเร็กซ์และเครื่องมือวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ที่ใช้กันมากที่สุด

การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง

กลยุทธ์การเทรดคืออะไร?

วางแผนการเทรดและเทรดตามแผน

กลยุทธ์การเทรดคืออะไร?

กลยุทธ์การเทรดประเภทต่างๆ

การตัดสินใจทางการเงินบนพื้นฐานของสัญชาตญาณนั้นไม่น่าจะทำกำไรได้ นั่นเป็นเหตุผลที่เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากทดลองใช้ระบบและกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

วิธีการใช้กลยุทธ์การเทรด

กลยุทธ์สำหรับการเทรดหุ้นหรือฟอเร็กซ์

กฎตายตัวที่ควบคุมจุดเข้าและออกบนพื้นฐานการวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดอารมณ์ออกจากสมการและมีโอกาสได้รับผลกำไรที่สม่ำเสมอมากขึ้น เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคสร้างทริกเกอร์เพื่อแนะนำเมื่อถึงเวลาที่ควรดำเนินการ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าการเทรดมีความเสี่ยงอยู่โดยเนื้อแท้และไม่รับประกันในผลกำไร

ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าคุณพอใจกับกลยุทธ์โดยทดสอบในสภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นและมีความปลอดภัย การเปิดบัญชีทดลองให้คุณปรับกลยุทธ์ภายใต้สภาวะตลาดจริงโดยไม่ต้องเสี่ยงด้วยเงินจริงของคุณ คุณสามารถทดสอบกลยุทธ์ได้ด้วยการปรับใช้กับกราฟราคาย้อนหลังและดูว่าผลลัพธ์ของคุณจะออกมาเป็นอย่างไร โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโลกในความเป็นจริง

ประเภทของการเทรด

รูปแบบการเทรดฟอเร็กซ์ที่แตกต่างกัน

การเทรดรายวัน (Day Trading)

นักเทรดรายวันใช้ประโยชน์จากความผันผวนของสินทรัพย์ วางการเทรดระยะสั้นหลายรายการโดยคาดหวังว่าจะทำกำไรจำนวนน้อยในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง นี่อาจเป็นรูปแบบการเทรดที่มีปริมาณสูงและมีความเครียดสูงดังนั้นคุณต้องมีสมาธิที่แน่วแน่ในตลาดและอยู่ในสถานะที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์เชิงบวกหรือเชิงลบได้อย่างรวดเร็ว

การเทรดรายวันคืออะไร?

เมื่อพิจารณาจากชื่อ นักเทรดรายวันเปิดและปิดการเทรดตลอดช่วงเวลาระหว่างวัน โดยปกติจะถือสถานะไว้เพียงไม่กี่ชั่วโมง การเทรดรายวันจะขจัดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปิดสถานะค้างไว้ข้ามคืน

การเทรดแบบ Scalp

การเทรดแบบ Scalp เป็นรูปแบบที่สุดโต่งกว่าการเทรดรายวัน โดยคุณต้องพร้อมรับมือทุกการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ตั้งใจจะติดตามข้อมูลตลอดทั้งวัน คุณต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและชอบในความเสี่ยงสูง การขาดทุนครั้งใหญ่สองสามครั้งสามารถกลบผลกำไรของคุณในวันนั้นได้

Scalp คืออะไร?

นักเทรดแบบ Scalp มีเป้าหมายอยู่ที่การเคลื่อนไหวของราคาระหว่างวันและตั้งเป้าที่จะทำกำไรแต่ละครั้งน้อยมากแต่บ่อยครั้งมาก โดยปกติพวกเขาจะถือสถานะไว้เพียงไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาทีและใช้ประโยชน์จากโอกาสเล็กๆ ในขณะที่เทรดกับเทรนด์ที่ทำกำไร

การเทรดในสถานะ

ผู้เทรดในสถานะจะมองตลาดในระยะยาวมากกว่านักเทรดแบบรายวันหรือแบบ Scalp ดังนั้นรูปแบบนี้จึงเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ไม่ต้องการติดตามตลาดตลอดเวลา อย่างไรก็ตามคุณต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะก้าวผ่านช่วงย่อตัวที่อาจเกิดขึ้นในตลาดได้ (สมมติว่าเกิดขึ้นเป็นระยะสั้น)

การเทรดในสถานะคืออะไร?

ด้วยการเทรดในสถานะ คุณลงทุนในสินทรัพย์โดยคาดหวังผลกำไรจากช่วงขาขึ้น โดยทั่วไปผู้เทรดในสถานะจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อระบุสินทรัพย์ที่พวกเขาต้องการลงทุน และเสริมการวิจัยนั้นด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อระบุจุดเข้าและออกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การเทรดจากการสวิง

การเทรดจากการสวิงจะทำตามหลักพื้นฐานเดียวกันกับการเทรดในสถานะ แต่จะมองไปในระยะปานกลาง (ไม่เหมือนกับการเทรดรายวันที่มองตลาดในระยะสั้น) การเทรดจากการสวิงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในตลาดที่มีความผันผวนมากกว่า (เมื่อเทียบกับการเทรดในสถานะ) เมื่อไม่มีแนวโน้มขาขึ้นที่ชัดเจนให้ใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าเป็นรูปแบบที่อยู่ระหว่างการเทรดรายวันกับการเทรดในสถานะ

การเทรดจากการสวิงคืออะไร?

ด้วยการเทรดจากการสวิง คุณต้องมองหาสินทรัพย์ที่น่าจะมีการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นที่คุณสามารถใช้ประโยชน์ได้ การเปิดสถานะไว้ข้ามคืนเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่จะส่งผลต่อตลาดขณะที่คุณสนใจในสิ่งอื่นอยู่

กลยุทธ์การเทรดฟอเร็กซ์

กลยุทธ์การเทรดทั่วไป

การเทรดแบบ Bladerunner

กลยุทธ์ที่มีชื่อฟังดูเร้าใจนี้ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential (EMA) 20 ช่วงหรือ Bollinger Band ช่วงกลาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ยอดนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเทรดเดอร์ที่ดำเนินการในกรอบเวลาสั้นๆ

กลยุทธ์การเทรดแบบ Bladerunner คืออะไร?

เส้น EMA หรือ Bollinger Band ช่วงกลาง ‘ตัด’ ราคาเป็นสองส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสัญญาณเทรดจะถูกสร้างขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนไหวอย่างสะดวกเหนือหรือใต้เส้นและมีการทดสอบซ้ำหลายครั้ง สิ่งนี้จะยืนยันว่าแนวโน้มระยะยาวไม่น่าจะย้ายไปอยู่ด้านตรงข้ามของเส้นแม้ว่าอาจจะเกิดขึ้นในระยะสั้นก่อนที่จะมีการรวมเข้าด้วยกัน

การเทรดแบบ Daily Fibonacci Pivot

การเทรดแบบ Daily Fibonacci Pivot รวม Pivot Point รายวันกับ Fibonacci Retracement เข้าด้วยกันเป็นกลยุทธ์เดียว โดยเป็นการออกแบบมาเพื่อให้เทรดเดอร์ทราบว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเจอแนวรับและแนวต้านหลักในพื้นที่ใด

การเทรดแบบ Daily Fibonacci Pivot คืออะไร?

เมื่อทำการเทรด Long ในช่วงขาขึ้น ให้รอเส้น Fibonacci Retracement และเส้น Pivot Support มาบรรจบกัน Fibonacci เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการตัดสินใจของคุณ หนุนด้วยการยืนยันจาก Pivot Point

การเทรดแบบ Bolly Band Bounce

กลยุทธ์ยอดนิยมนี้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ตามปกติแล้วราคาจะย้อนกลับไปยังค่าเฉลี่ยกลางของมัน เทรดเดอร์ใช้ Bollinger Band เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อประเมินว่าเมื่อใดควรซื้อหรือขาย กลยุทธ์นี้ใช้ได้ดีที่สุดในตลาดที่ค่อนข้างจะคงที่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวในช่วงที่คงเส้นคงวา

กลยุทธ์การเทรดแบบ Bolly Band Bounce คืออะไร?

หลักพื้นฐานคือสินทรัพย์จะสอดคล้องและไม่ทะลุแนวรับและแนวต้าน Bollinger Bands ทำเครื่องหมายจุดเหล่านี้ด้วยสองเส้นที่ ‘ประกบ’ สินทรัพย์ เมื่อราคาแตะแนวต้าน มันจะกระเด้งและเลี้ยวกลับไปตรงกลาง เมื่อแตะแนวรับก็จะทำเช่นเดียวกันในทิศตรงข้าม ในขั้นพื้นฐานที่สุด เทรดเดอร์สามารถขายเมื่อราคาแตะเส้นบน และซื้อเมื่อตกไปถึงระดับต่ำสุด โปรดระวังว่าหลักทรัพย์นั้นมักจะ ‘ไต่เส้น’ แทนที่จะกระเด้งกลับอย่างชัดเจน

การเทรดฟอเร็กซ์แบบ Overlapping Fibonacci

นี่เป็นวิธีการขั้นสูงกว่าเล็กน้อยในการใช้ระดับ Fibonacci ในการเทรด แฟนคลับกลยุทธ์การเทรดนี้มักบอกว่าเป็นกลยุทธ์เดียวที่พวกเขาใช้เพื่อเทรดในตลาด คุณสามารถใช้กลยุทธ์นี้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้น

กลยุทธ์การเทรดแบบ Overlapping Fibonacci คืออะไร?

แนวคิดหลักคือการเรียงลำดับ Fibonacci ในแนวโน้มเดียวกันที่จุดต่างๆ และมองหาจุดบรรจบกัน โดยจะใช้ได้ดีที่สุดในแนวโน้มที่เข้มแข็งในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในแนวโน้มขาขึ้น หนึ่งลำดับของ Fibonacci ถูกดึงจากร่องทั้งหมดจนถึงจุดสูงสุดของแนวโน้ม ลำดับที่สองจะถูกดึงจากร่องของคลื่นที่สองไปจนถึงจุดสูงสุดเดียวกัน หากเส้นตรงกัน นั่นแสดงว่ามีแนวรับที่แข็งแกร่ง (หรือแนวต้านในกรณีของแนวโน้มขาลง)

การเทรดแบบ London Hammer

กลยุทธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากความผันผวนที่มักเกิดขึ้นเมื่อตลาดลอนดอนเปิด นี่เป็นกลยุทธ์ยอดนิยมสำหรับการเทรดทองคำโดยเฉพาะ

กลยุทธ์การเทรดแบบ London Hammer คืออะไร?

‘ค้อน’ คือรูปแบบที่เกิดขึ้นในกราฟแท่งเทียน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าการเทรดของสินทรัพย์นั้นลดลงจากราคาเปิด จากนั้นก็พุ่งกลับขึ้นเหนือหรือใกล้กับราคาเริ่มต้น ทำให้เกิดเป็นรูปร่างค้อน (ตัวแท่งสั้นกับด้ามยาว) ข้อสันนิษฐานคือลอนดอนให้ข้อบ่งชี้เร็วที่สุดว่าตลาดจะตอบสนองอย่างไรในวันนั้น หากต้องการใช้กลยุทธ์นี้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณต้องทราบถึงเส้นแนวรับและแนวต้านที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ตัวบ่งชี้ที่ดีในการที่จะขายมักจะช่วงที่ไส้เทียนเลยระดับแนวต้านไป

การเทรดฟอเร็กซ์แบบเศษส่วน

เศษส่วนถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่ยืนยันการมีอยู่หรือการเกิดขึ้นของแนวโน้ม ในตลาดที่มีความวุ่นวายมาก เศษส่วนจะมีประโยชน์ในการระบุทิศทางราคาที่ชัดเจน เศษส่วนในแง่พื้นฐานที่สุด คือรูปแบบที่สามารถยืนยันการกลับตัวได้

กลยุทธ์การเทรดฟอเร็กซ์แบบเศษส่วนคืออะไร?

รูปแบบเศษส่วนที่ส่งสัญญาณถึงจุดกลับตัวของกระทิงคือร่องที่อยู่ตรงกลาง ขนาบข้างด้วยจุดที่สูงกว่าทั้งสองข้าง เศษส่วนที่ส่งสัญญาณถึงจุดกลับตัวของหมีในตลาดคือจุดสูงสุด ขนาบข้างด้วยจุดต่ำกว่าทั้งสองข้าง ‘อินดิเคเตอร์ Alligator’ มักถูกใช้ควบคู่ไปกับเศษส่วน นี่เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อสร้างสามเส้นที่จะช่วยยืนยันว่ามีการกลับตัวเกิดขึ้น

การเทรดฟอเร็กซ์แบบ Dual Stochastic

การเทรดแบบ Dual Stochastic ใช้ Stochastic Oscillator เพื่อส่งสัญญาณเมื่อเทรนด์มีแนวโน้มที่จะกลับตัว สิ่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์ทราบล่วงหน้าว่าพวกเขาควรเตรียมพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสถานะในสินทรัพย์

การเทรดฟอเร็กซ์แบบ Dual Stochastic คืออะไร?

กลยุทธ์นี้เปรียบเทียบ Stochastic Oscillator แบบเร็วและช้าเพื่อวัดโมเมนตัมของเทรนด์ เมื่อราคาแตะระดับสูงสุดที่ทำเครื่องหมายโดยระดับ Stochastic (มากกว่า 80 และต่ำกว่า 20) นั่นแสดงว่าการกลับตัวอาจเกิดขึ้นในภายหน้าเนื่องจากสินทรัพย์แตะระดับที่มีการซื้อและขายมากเกินไป โดยทั่วไปเทรดเดอร์จะรอให้ราคามีแนวโน้มที่แข็งแกร่งและเตรียมพร้อมสำหรับตัวชี้วัด Stochastic ที่จะอยู่ในด้านตรงข้าม กลยุทธ์นี้ใช้ได้ดีที่สุดกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อแนะนำจุดเข้าที่ทำกำไรได้มากที่สุด

การเทรดแบบ Pop ‘n’ Stop

การเทรดแบบ Pop ‘n’ Stop ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณได้ใช้ประโยชน์จากการทะลุออกจากกรอบแคบๆ อย่างกะทันหัน อันตรายอย่างอื่นคือคุณพลาดโอกาสโดยสิ้นเชิง เข้าร่วมในความตื่นเต้นสายเกินไปและไล่ตามราคาไม่สำเร็จ

การเทรดแบบ Pop ‘n’ Stop คืออะไร?

การเทรดแบบ Pop ‘n’ Stop คือคำอธิบายเมื่อราคาทะลุออกจากกรอบก่อนหน้านี้ไปด้านบนและหยุดชั่วขณะก่อนที่จะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ จุดนี้ สิ่งสำคัญคือการดูสัญญาณที่อาจบอกได้ว่าราคาจะไปในทิศทางใด กลยุทธ์นี้จะรวมทฤษฎีการเคลื่อนไหวของราคาเข้ากับตัวชี้วัดอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบแท่งเทียน Rejection Bar เทรดเดอร์มักวางคำสั่ง Limit หนึ่งหรือสอง Pip ก่อนถึง Rejection Bar เพื่อช่วยจัดการกับความเสี่ยง

การเทรดแบบ Drop ‘n’ Stop

การเทรดแบบ Drop ‘n’ Stop คือด้านตรงข้ามของ Pop ‘n’ Stop และมีการใช้เพื่อเทรดในการทะลุของขาลง กลยุทธ์ทั้งสองนี้มีการใช้บ่อยที่สุดเมื่อเซสชั่นเทรดเปิดและมีปริมาณการเทรดสูง

การเทรดแบบ Drop ‘n’ Stop คืออะไร?

เช่นเดียวกับ Pop ‘n’ Stop กลยุทธ์ Drop ‘n’ Stop จะเกิดขึ้นเมื่อสินทรัพย์ร่วงออกจากกรอบล่าสุดแล้วดูเหมือนจะลังเลเล็กน้อยก่อนที่จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ชัดเจน การเคลื่อนไหวนี้อาจเป็นโอกาสสำหรับเทรดเดอร์หากพวกเขาเข้าและออกในเวลาที่ถูกต้อง

การจำลองการเทรดฟอเร็กซ์

ทดสอบกลยุทธ์ในบัญชีทดลอง

Forex Simulator

จำลองการเทรดในบัญชีทดลองของเรา

ทดสอบกลยุทธ์ที่คุณเลือกในบัญชีทดลองของเรา

ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรดด้วยเงินทุนของคุณเอง เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทดสอบกลยุทธ์และเครื่องมือต่างๆ จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าคุณเจอวิธีการที่เหมาะกับคุณแล้ว ดังที่เราเห็น ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการใช้เวลาในการติดตามการเทรดมากน้อยเพียงใด แรงเสี่ยงลงทุนโดยทั่วไปของคุณ และคุณสบายใจที่จะตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงใด

ด้วยบัญชีทดลองของ FXTM คุณสามารถเข้าถึงตลาดสกุลเงินได้โดยไม่มีความเสี่ยงและสามารถฝึกหัดภายใต้สภาวะตลาดของจริงได้ ทุกอย่างเป็นจริงยกเว้นเงิน (จำลอง)!

เปิดบัญชีทดลอง

*การเทรดมีความเสี่ยง คุณอาจสูญเสียเงินทุนของคุณ

Trading Simulator

เทรด CFD ในบัญชีทดลองของเรา

ไม่ใช่แค่เพียงฟอเร็กซ์ที่คุณสามารถฝึกฝนได้ในบัญชีทดลองของ FXTM FXTM ยังเปิดโอกาสให้คุณเทรด CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีสำคัญ และหุ้น การเทรด CFD ให้คุณเข้าถึงตลาดการเงินได้มากขึ้นและมักต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำกว่า

ข้อดีของบัญชีทดลองของเรา

  • กระบวนการลงทะเบียนและยืนยันที่รวดเร็ว
  • สเปรดต่ำกว่า
  • เลเวอเรจที่ยืดหยุ่น*
  • ความเร็วในการส่งคำสั่งที่รวดเร็วมาก
  • บัญชี Swap-Free

FXTM มีเลเวอเรจ* ที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ความได้เปรียบที่คุณต้องการ

*เลเวอเรจที่เสนอให้จะขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของคุณ

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีทดลองของเรา

เครื่องมือวิเคราะห์ฟอเร็กซ์

เครื่องมือวิเคราะห์ที่สำคัญสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์

ดัชนีชี้วัด MACD

Moving Average Convergence Divergence

MACD เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมซึ่งจะประเมินความแข็งแกร่งและทิศทางของแนวโน้มและช่วยแจ้งเตือนโอกาสที่ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

วิธีการใช้ดัชนีชี้วัด MACD

MACD ใช้ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential สองช่วง (โดยใช้ราคาปิด) โดย EMA 12 วันกับ 26 วันเป็นช่วงที่มีการใช้กันมากที่สุด จากนั้น “เส้นสัญญาณ” (SMA 9 วันของ MACD เอง) จะถูกวางทับ MACD โดยที่ถูกเรียกว่า ‘เส้นสัญญาณ’ ก็เพราะเมื่อเส้น MACD ข้ามไป ก็เป็นสัญญาณให้ซื้อหรือขาย

ครอสโอเวอร์ – เมื่อเส้น MACD ขยับขึ้นไปเหนือเส้นสัญญาณแสดงว่ามีแนวโน้มขาขึ้นซึ่งหมายความว่าอาจถึงเวลาที่ควรซื้อ เมื่อข้ามไปข้างใต้แสดงว่ามีแนวโน้มขาลงและอาจถึงเวลาที่ควรขาย ในทำนองเดียวกัน เมื่อ MACD ข้ามเหนือเส้นฐาน ก็คาดว่าจะมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นและจะเป็นสัญญาณให้ซื้อ ในทางกลับกัน เมื่อ MACD ลงไปใต้เส้นฐาน ก็คาดว่าจะมีทิศทางปรับลดลง ดังนั้นจึงมีการสร้างสัญญาณขาย

ไดเวอร์เจนซ์ – นี่คือเมื่อเส้นราคาไปในทิศทางที่ต่างจาก MACD แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มอาจกำลังจะย้อนกลับซึ่งสามารถช่วยเทรดเดอร์ในการระบุถึงโอกาสได้

Dramatic rise – เมื่อมีความแตกต่างอย่างมากระหว่าง EMA ที่ช้าและเร็ว (หมายถึงมีการเอียงขึ้นอยากมากในเส้น MACD) นั่นเป็นสัญญาณว่าสินทรัพย์มีการซื้อมากเกินไป

Parabolic SAR

Moving Average Convergence Divergence

Parabolic SAR เป็นดัชนีชี้วัดที่ติดตามแนวโน้มเช่นเดียวกับ MACD ซึ่งจะช่วยคุณในการซื้อเมื่อเป็นแนวโน้มขาขึ้นและขายเมื่อเป็นแนวโน้มขาลง โดยจะแสดงเป็นชุดของจุดทั้งด้านล่างหรือด้านบนของแท่งราคา (ขึ้นอยู่กับทิศทางของแนวโน้ม) และคำนวณโดยใช้ราคาสูงสุดและต่ำสุดล่าสุดและปัจจัยเร่ง

วิธีการใช้ Parabolic SAR

โดยพื้นฐานแล้ว Parabolic SAR ช่วยให้มองเห็นแนวโน้มขาขึ้น (เมื่อจุดอยู่ต่ำกว่าราคา) และแนวโน้มขาลง (เมื่อจุดอยู่เหนือราคา) ได้ง่ายขึ้น ดัชนีชี้วัดนี้มีประโยชน์สำหรับการทำให้ทิศทางของราคาในปัจจุบันชัดเจนและแนะนำจุดออกและจุดเข้าที่เป็นไปได้ สัญญาณจะถูกสร้างขึ้นเมื่อจุดเปลี่ยนจากด้านบนเป็นด้านล่างของราคา ซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับการประเมินโมเมนตัมในระยะสั้นเท่านั้นและน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับนักเทรดรายวัน

Stochastic Oscillator

ดัชนีชี้วัด Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator ประกอบด้วยสองเส้น (เรียกว่า %K และ %D) และวัดราคาปิดของสินทรัพย์เมื่อเทียบกับช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วงเวลาที่ปรับได้ ช่วงเวลาทั่วไปมักจะเป็น 14 ช่วง แต่คุณสามารถเปลี่ยนเพื่อลดหรือเพิ่มความไวของดัชนีชี้วัดนี้ต่อตลาดได้

วิธีการใช้ Stochastic Oscillator

เดิมทีถูกออกแบบมาเพื่อช่วยติดตามโมเมนตัมและความเร็วของราคา แต่ในปัจจุบันมักถูกใช้เพื่อแจ้งเตือนเทรดเดอร์ถึงสภาวะที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป เมื่อเส้นอยู่เหนือ 80 สินทรัพย์นั้นจะถูกพิจารณาว่ามีการซื้อมากเกินไป (และเทรนด์มีแนวโน้มที่จะกลับตัว เทรดเดอร์จึงควรขาย) และเมื่อต่ำกว่า 20 สินทรัพย์นั้นจะถูกพิจารณาว่ามีการขายมากเกินไป (เทรดเดอร์จึงควรซื้อ)

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index)

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index)

เช่นเดียวกับ Stochastic Oscillator ดัชนีกำลังสัมพัทธ์เป็นอีกหนึ่งดัชนีชี้วัดที่ผูกติดกับช่วงเวลาที่ช่วยเทรดเดอร์ระบุสภาวะที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ซึ่งจะวิเคราะห์ราคาของสินทรัพย์เมื่อเวลาผ่านไปโดยเปรียบเทียบกำไรเฉลี่ยกับการขาดทุนเฉลี่ยในช่วงเวลาย้อนหลัง และสามารถระบุรูปแบบได้โดยใช้ RSI ที่จะไม่ปรากฏในกราฟราคาจริง

วิธีการใช้เครื่องดัชนีกำลังสัมพัทธ์

หากราคาของสินทรัพย์สูงกว่า 70 จะถูกพิจารณาว่ามีการซื้อมากเกินไป หาก RSI ลงไปต่ำกว่า 30 จะถูกพิจารณาว่ามีการขายมากเกินไป โดยทั่วไปแล้วยังมีการใช้ระดับ 50 ในการยืนยันแนวโน้ม (ด้านบนสำหรับกระทิงและต่ำกว่าสำหรับหมี)

Bollinger Band

ดัชนีชี้วัด Bollinger Band

Bollinger Band ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด คือวัดความผันผวนของตลาด ดัชนีชี้วัดนี้ประกอบด้วยสองเส้น (ซึ่งติดตามส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ที่ล้อมรอบแท่งราคา และมีเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่ายอยู่ตรงกลาง เส้นชั้นนอกขยายตัวและหดตัวตามราคาปิดว่ามีความผันผวนมากน้อยเพียงใด

วิธีการใช้ Bollinger Band

มีหลายรูปแบบที่เทรดเดอร์บางส่วนพบว่ามีประโยชน์สำหรับการพยากรณ์การเคลื่อนไหวของตลาด ในตลาดที่เสถียร เส้นด้านบนและล่างมักจะทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านคอยหนุนให้ราคากลับไปสู่จุดกึ่งกลางในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘Bollinger Bounce’ เมื่อราคา ‘ไต่เส้น’ (ปรับขึ้นหรือลงไปยังเส้นด้านบนหรือล่างแล้วอยู่แถวนั้น) ก็อาจเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มมีโมเมนตัมที่แข็งแกร่งและน่าจะดำเนินต่อไปเช่นนั้นในระยะสั้น

Ichimoku Kinko Hyo

ดัชนีชี้วัด Ichimoku Kinko Hyo

Ichimoku Kinko Hyo ได้รับการออกแบบมาให้เป็นดัชนีชี้วัดแบบครบวงจรและควรให้ข้อมูลทั้งหมดที่เทรดเดอร์ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากประกอบด้วยห้าเส้น จึงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ในการอ่าน โดยทำการวัดโมเมนตัมรวมถึงคาดการณ์โซนแนวรับและแนวต้าน

วิธีการใช้ Ichimoku Kinko Hyo

ทั้งห้าเส้น (tenkan-sen, kijun-sen, senkou span A, senkou span B และ chikou span) คำนวณโดยใช้ราคาที่สูงที่สุดและราคาที่ต่ำที่สุดในช่วงเวลาย้อนหลังที่ต่างกัน เส้นจะแสดงระดับแนวรับและแนวต้านสำคัญต่างๆ รวมถึงสัญญาณสำหรับการกลับตัวและสถานที่ทางยุทธวิธีเพื่อวางจุด Stop Loss แม้จะมีการออกแบบเป็นดัชนีชี้วัดแบบครบวงจร แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในรูปแบบอื่นด้วย

การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง

Scroll Top
การเตือนความเสี่ยง: การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง Exinity Limited มีการกำกับดูแลโดย FSC (มอริเชียส)
การเตือนความเสี่ยง: การเทรดมีความเสี่ยง เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง Exinity Limited มีการกำกับดูแลโดย FSC (มอริเชียส)